ดวงดาวต่างๆเป็นดวงดาวระบบหนึ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า ยังมีดวงดาวอีกมากมายนับเป็นหมื่นล้านระบบที่อยู่ไกลออกไป เราเรียกระบบของดวงดาว หรืออาณาจักรของดวงดาวว่า กาแล็กซี ( Galaxy ) หรือดาราจักร นักดาราศาสตร์ชื่อ เอ็ดวิน พี ฮับเบิล (Edwin P.Hubble ) ได้จำแนกดาราจักรตามลักษณะรูปร่างออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ดาราจักรกลมรี ( Elliptical Galaxies ) ดาราจักรประเภทนี้มีรูปร่างหลายแบบตั้งแต่
เป็นจานกลมจนกระทั่งมีรูปร่างเป็นวงรี
ดาราจักรประเภทนี้มีความยาวของแกนยาวเป็น 5 เท่าของแกนสั่น รูปร่างของดาราจักรนี้จะแบนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการหมุนของตัวเอง ถ้าหมุนช้ารูปร่างจะค่อนข้างกลม แต่ถ้าหมุนเร็วรูปร่างจะค่อนข้างแบน
2.ดาราจักรแบบก้นหอย ( Spiral Galaxies ) คาราจักรประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2.1ดาราจักรแบบก้นหอยธรรมดา ( Normal Spiral Galaxies ) ดาราจักรชนิดนี้มีโครงสร้างและส่วนประกอบภายในแตกต่างจากดาราจักรแบบกลมรี มีแขนโค้งเหมือนลายก้นหอยหรือกังหันเด็กเล่น ดังรูป ตัวอย่างของดาราจักรชนิดนี้คือ ดาราจักรทางช้างเผือก ที่ระบบสุริยะของเราเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรนี้ นอกจากนี้ได้แก่ ดาราจักรแอนโดรเมดา
2.2ดาราจักรแบบก้นหอยคาน ( Barred Spiral Galaxies ) มีลักษณะคล้ายกับดาราจักรแบบก้นหอยธรรมดา แต่ตรงกลางมีลักษณะเป็นคาน และมีแขนลักษณะแบบของดาราจักรแบบก้นหอยธรรมดาต่อออกมาจากปลายคานทั้งสอง
3.ดาราจักรแบบไร้รูปร่าง ( Irregular Galaxies ) ดาราจักรชนิดนี้แตกต่างไปจาก 2 แบบแรก คือ ไม่มีใจกลาง ไม่มีแขนที่โค้งเป็นก้นหอยและไม่มีระนาบของความเป็นสมมาตรกัน ตัวอย่างของดาราจักรชนิดนี้ได้แก่ ดาราจักรแมกเจลแลนใหญ่ และดาราจักรแมกเจลแลนเล็ก ซึ่งดาราจักรทั้ง 2 นี้อยู่ใกล้ดาราจักรทางช้างเผือกประมาณ 150,000 ปีแสง และ 200,000 ปีแสง ตามลำดับ
ดาราจักรทั้งหลายในจักรวาลไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่จะรวมกันอยู่เป็นกระจุกหรือกลุ่ม กระจััดกระจายในอวกาศ บางกระจุกประกอบด้วยดาราจักรหลายแบบปะปนกันอยู่
นอกจากดาราจักรแล้วยังมีกลุ่มดาวอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า เนบิวลา ( Nebula )ซึ่งจะเห็นได้โดยใช้กล้องโทรทัศน์ส่องดู มองคล้ายก้อนเมฆ เนบิวลาประกอบด้วยกลุ่มก๊าซ ดาวฤกษ์นับพันล้านดวง และกลุ่มฝุ่นต่างๆ ปนกันอยู่ เนบิวลาบางแห่งมีแต่กลุ่มก๊าซและฝุ่น
ไม่มีดาวฤกษ์เลยก็มี บางเนบิวลาก็คลายกลุ่มควันมืดทึบลอยเกาะกลุ่มกันอยู่
ดวงดาวที่สังเกตเห็นแสงกระพริบระยิบระยับในตอนกลางคืนนั้นเราเรียกว่า ดาวฤกษ์ ซึ่งอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก ( Milky way Galaxy ) ชาวกรีกโบราณเรียกดาราจักรทางน้ำนม ในดาราจักรนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์หนึ่งแสนล้านดวง ดาวฤกษ์แต่ละดวงอาจมีความแตกต่างด้านในด้านขนาด มวล ความหนาแน่น อุณหภูมิ และปริมาณพลังงานที่ปล่อยออกมา โดยสีของดาวฤกษ์นี้จะบอกอายุและอุณหภูมิของดวงดาวนั้น ดาวสีแดงมีอุณหภูมิต่ำและมีอายุมากกว่าดาวสีน้ำเงิน ดาวฤกษ์แต่ละดวงอาจมีบริวารโคจรอยู่รอบๆ ดาวบริวารไม่มีแสงสว่างในตัวเองแต่จะได้รับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์นั้น เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า ดาวเคราะห์
1.ดาราจักรกลมรี ( Elliptical Galaxies ) ดาราจักรประเภทนี้มีรูปร่างหลายแบบตั้งแต่
เป็นจานกลมจนกระทั่งมีรูปร่างเป็นวงรี
ดาราจักรประเภทนี้มีความยาวของแกนยาวเป็น 5 เท่าของแกนสั่น รูปร่างของดาราจักรนี้จะแบนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการหมุนของตัวเอง ถ้าหมุนช้ารูปร่างจะค่อนข้างกลม แต่ถ้าหมุนเร็วรูปร่างจะค่อนข้างแบน
2.ดาราจักรแบบก้นหอย ( Spiral Galaxies ) คาราจักรประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2.1ดาราจักรแบบก้นหอยธรรมดา ( Normal Spiral Galaxies ) ดาราจักรชนิดนี้มีโครงสร้างและส่วนประกอบภายในแตกต่างจากดาราจักรแบบกลมรี มีแขนโค้งเหมือนลายก้นหอยหรือกังหันเด็กเล่น ดังรูป ตัวอย่างของดาราจักรชนิดนี้คือ ดาราจักรทางช้างเผือก ที่ระบบสุริยะของเราเป็นส่วนหนึ่งของดาราจักรนี้ นอกจากนี้ได้แก่ ดาราจักรแอนโดรเมดา
2.2ดาราจักรแบบก้นหอยคาน ( Barred Spiral Galaxies ) มีลักษณะคล้ายกับดาราจักรแบบก้นหอยธรรมดา แต่ตรงกลางมีลักษณะเป็นคาน และมีแขนลักษณะแบบของดาราจักรแบบก้นหอยธรรมดาต่อออกมาจากปลายคานทั้งสอง
3.ดาราจักรแบบไร้รูปร่าง ( Irregular Galaxies ) ดาราจักรชนิดนี้แตกต่างไปจาก 2 แบบแรก คือ ไม่มีใจกลาง ไม่มีแขนที่โค้งเป็นก้นหอยและไม่มีระนาบของความเป็นสมมาตรกัน ตัวอย่างของดาราจักรชนิดนี้ได้แก่ ดาราจักรแมกเจลแลนใหญ่ และดาราจักรแมกเจลแลนเล็ก ซึ่งดาราจักรทั้ง 2 นี้อยู่ใกล้ดาราจักรทางช้างเผือกประมาณ 150,000 ปีแสง และ 200,000 ปีแสง ตามลำดับ
ดาราจักรทั้งหลายในจักรวาลไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่จะรวมกันอยู่เป็นกระจุกหรือกลุ่ม กระจััดกระจายในอวกาศ บางกระจุกประกอบด้วยดาราจักรหลายแบบปะปนกันอยู่
นอกจากดาราจักรแล้วยังมีกลุ่มดาวอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า เนบิวลา ( Nebula )ซึ่งจะเห็นได้โดยใช้กล้องโทรทัศน์ส่องดู มองคล้ายก้อนเมฆ เนบิวลาประกอบด้วยกลุ่มก๊าซ ดาวฤกษ์นับพันล้านดวง และกลุ่มฝุ่นต่างๆ ปนกันอยู่ เนบิวลาบางแห่งมีแต่กลุ่มก๊าซและฝุ่น
ไม่มีดาวฤกษ์เลยก็มี บางเนบิวลาก็คลายกลุ่มควันมืดทึบลอยเกาะกลุ่มกันอยู่
ดวงดาวที่สังเกตเห็นแสงกระพริบระยิบระยับในตอนกลางคืนนั้นเราเรียกว่า ดาวฤกษ์ ซึ่งอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก ( Milky way Galaxy ) ชาวกรีกโบราณเรียกดาราจักรทางน้ำนม ในดาราจักรนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์หนึ่งแสนล้านดวง ดาวฤกษ์แต่ละดวงอาจมีความแตกต่างด้านในด้านขนาด มวล ความหนาแน่น อุณหภูมิ และปริมาณพลังงานที่ปล่อยออกมา โดยสีของดาวฤกษ์นี้จะบอกอายุและอุณหภูมิของดวงดาวนั้น ดาวสีแดงมีอุณหภูมิต่ำและมีอายุมากกว่าดาวสีน้ำเงิน ดาวฤกษ์แต่ละดวงอาจมีบริวารโคจรอยู่รอบๆ ดาวบริวารไม่มีแสงสว่างในตัวเองแต่จะได้รับพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์นั้น เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า ดาวเคราะห์
การสังเกตความแตกต่างของดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์สามารถพิจารณาได้ 2 วิธี คือ
1.สังเกตการส่องแสงของดวงดาว ถ้าดวงดาวนั้นกระพริบแสงก็จัดเป็นดาวฤกษ์ แต่ถ้าดาวดวงนั้นมีแสงสว่างนวลนิ่งไม่อยู่ ณ ตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับดาวส่วนใหญ่ก็จัดเป็นดาวเคราะห์
2.สังเกตการเคลื่อนที่ ถ้าดาวแต่ละดวงไม่เคลื่อนที่และเกาะกลุ่มกันอยู่ในตำแหน่งเดิม
ก็จัดเป็นดาวฤกษ์ แต่ถ้าดาวแต่ละดวงมีการเคลื่อนที่ไม่อยู่ ณ ตำแหน่งเดิม
เมื่อเทียบกับดาวส่วนใหญ่ก็จัดเป็นดาวเคราะห์
การที่เรามองเห็นดาวฤกษ์กระพริบแสงอยู่ตลอดเวลาเกิดจากสาเหตุใด ทำไมดาวเคราะห์
จึงไม่กระพริบแสง นักดาราศาสตร์ได้ทำการศึกษาและให้คำตอบว่า เนื่องจากบรรยากาศของดลก และลักษณะลำแสงของดวงดาวต่างๆ กล่าวคือ ดาวฤกษ์อยู่ไกลจากโลกมาก ดังนั้นแสงจากดาวฤกษ์จึงคล้ายกกับแสงเส้นเดียว เมื่อผ่านมายังบรรยากาศจึงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แสงจะหักเหอย่างไม่คงที่ ทำให้แสงเส้นเดียวเคลื่อนไหวไปมา เราจึงเห็นดาวฤกษ์กระพริบแสง ส่วนดาวเคราะห์อยู่ใกล้โลกมากกว่าแสงสะท้อนจากดาวเคราะห์จึงไม่เป็นแสงเดี่ยว แตะเป็นลำแสงใหญ่ซึ่งประกอบด้วยแสงเดี่ยวมากมาย เมื่อผ่านบรรยากาศของโลกก็ถูกหักเหอย่างไม่คงที่ ลำแสงเดี่วยแต่ละลำจะเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในขอบเขตของลำแสงใหญ่ดังนั้นแสงจากดาวเคราะห์จึงมีการกระพริบน้อยมาก ยิ่งถ้าอากาศไม่แปรปรวนจะเป็นจุดสว่างนวลดูเหมือนไม่กระพริบแสงเลย
2.สังเกตการเคลื่อนที่ ถ้าดาวแต่ละดวงไม่เคลื่อนที่และเกาะกลุ่มกันอยู่ในตำแหน่งเดิม
ก็จัดเป็นดาวฤกษ์ แต่ถ้าดาวแต่ละดวงมีการเคลื่อนที่ไม่อยู่ ณ ตำแหน่งเดิม
เมื่อเทียบกับดาวส่วนใหญ่ก็จัดเป็นดาวเคราะห์
การที่เรามองเห็นดาวฤกษ์กระพริบแสงอยู่ตลอดเวลาเกิดจากสาเหตุใด ทำไมดาวเคราะห์
จึงไม่กระพริบแสง นักดาราศาสตร์ได้ทำการศึกษาและให้คำตอบว่า เนื่องจากบรรยากาศของดลก และลักษณะลำแสงของดวงดาวต่างๆ กล่าวคือ ดาวฤกษ์อยู่ไกลจากโลกมาก ดังนั้นแสงจากดาวฤกษ์จึงคล้ายกกับแสงเส้นเดียว เมื่อผ่านมายังบรรยากาศจึงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แสงจะหักเหอย่างไม่คงที่ ทำให้แสงเส้นเดียวเคลื่อนไหวไปมา เราจึงเห็นดาวฤกษ์กระพริบแสง ส่วนดาวเคราะห์อยู่ใกล้โลกมากกว่าแสงสะท้อนจากดาวเคราะห์จึงไม่เป็นแสงเดี่ยว แตะเป็นลำแสงใหญ่ซึ่งประกอบด้วยแสงเดี่ยวมากมาย เมื่อผ่านบรรยากาศของโลกก็ถูกหักเหอย่างไม่คงที่ ลำแสงเดี่วยแต่ละลำจะเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในขอบเขตของลำแสงใหญ่ดังนั้นแสงจากดาวเคราะห์จึงมีการกระพริบน้อยมาก ยิ่งถ้าอากาศไม่แปรปรวนจะเป็นจุดสว่างนวลดูเหมือนไม่กระพริบแสงเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น